ศูนย์ศึกษาเพื่อพัฒนาสตรีล้านนา (ศูนย์สตรีล้านนา)
หลักการและเหตุผล
ศูนย์ศึกษาเพื่อพัฒนาสตรีล้านนา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นในปลายปี ๒๕๓๓ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้หญิงได้รับความเสมอภาคทางด้าน
เศรษฐกิจ สังคมการเมืองและ วัฒนธรรมอย่างเท่าเทียมชาย เพื่อ
พัฒนาองค์ความรู้ ด้านสตรีศึกษา สำหรับจัดทำหลักสูตร การเรียน
การสอนในระดับอุดมศึกษา และเพื่อส่งเสริมกลุ่มและองค์กรสตรี
ในชุมชน ให้มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ ทั้งในระดับชุมชน
และระดับชาติ ศูนย์สตรีล้านนามีพื้นที่เป้าหมายการทำงาน ๙ จังหวัด
ภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน ตาก พะเยา ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ศูนย์ฯทำงานร่วมกัน ประกอบด้วย องค์กรสตรีในชุมชน, ผู้นำสตรี, องค์กรครูสตรี และกลุ่มแรงงานสตรี
วัตถุประสงค์
- เพื่อวิจัยศึกษาในประเด็นสตรีศึกษา อาทิ เรื่องสตรีกับ
การเมืองท้องถิ่น เรื่องแรงงานสตรี และเรื่องพัฒนาการของกลุ่มสตรี
ในระดับท้องถิ่น เป็นต้น
- เพื่อรวบรวมข้อมูล พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับ ฐานะและบทบาท
ของสตรีในท้องถิ่น
- เพื่อฝึกอบรม ผู้นำสตรีให้เป็นนักการเมืองท้องถิ่น
- เพื่อส่งเสริมสตรีให้ลงสมัครแข่งขันการเลือกตั้ง
ในระดับท้องถิ่น
- เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางด้านสตรีศึกษาแก่ นักเรียน นักศึกษา
อาจารย์ และผู้สนใจอื่นๆ
กิจกรรม
- วิจัย
- ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับแรงงานสตรี
- บทบาทนักการเมืองท้องถิ่นสตรี
- การมีส่วนร่วมของกลุ่มสตรีในสภาตำบล
- การสร้างเครือข่ายทางการเมืองของสตรี
- ฝึกอบรม
- เรื่องการบริหารและการจัดการในองค์กรสภาตำบลให้ผู้นำ
สตรีในชุมชน
- สัมมนาชุมชน
- เรื่องผู้หญิงกับการเมืองท้องถิ่น
- ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายกลุ่มสตรี (กลุ่มผู้นำสตรี กลุ่มแรงงานสตรี) ในระดับหมู่บ้าน, ตำบล, ภูมฺิภาค, ประเทศ
- ส่งเสริมผู้นำสตรีลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นนักการเมืองท้องถิ่น
ในตำแหน่งกำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน, กรรมการสภาตำบล
- จัดสัมมนาเผยแพร่องค์ความรู้ เรื่องสตรีศึกษาประจำปี
- ส่งเสริมองค์กรท้องถิ่น จัดกิจกรรมประชาธิปไตย
งบประมาณดำเนินการ
- คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- แหล่งทุนภายนอก
- กลุ่มองค์กรสตรีในชุมชน
ศูนย์ศึกษาเพื่อพัฒนาสตรีล้านนา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เชียงใหม่ ๕๐๒๐๐
โทร. (๐๕๓) ๒๒๑๖๙๙ ต่อ ๔๒๑๙
โทรสาร. (๐๕๓) ๒๒๑๒๘๓